ปราสาทหิน วัดสระกำแพงใหญ่ ปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุด ของจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อ ปราสาทหินวัดสระกำแพงใหญ่ (ปราสาทศรีพฤทเธศวร )
สถาปัตยกรรมขอมแบบ บาปวน
สร้าง สมัย พุทธศตวรรษที่ 16
เป็นเทวาลัย บูชา พระศิวะ … ตามความเชื่อ ของศาสนา ฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย แต่ภายหลัง วัดนี้ ถูกปรับเปลี่ยน ไปใช้ เป็นวัด ของ ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
สถานที่ตั้ง. อยู่ใน.บริเวณวัดสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
เป็นปราสาทหิน ที่มีขนาดใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุด ของจังหวัด ศรีสะเกษ
ได้รับการประกาศ เป็น โบราณสถานของชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
มีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนปราสาทหิน ทั่วไป
ปรางค์ประธาน องค์ใหญ่สุด ซึ่งอยู่ตรงกลาง ก่อด้วยหินทรายแซมด้วยอิฐ
ปรางค์บริวาร สององค์ ด้านข้าง ทำด้วยอิฐ
มีปรางค์ อีกองค์ ซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน อยู่ทาง ทิศตะวันตก ค่อนไป ทางทิศใต้ สร้างด้วยอิฐ
ด้านหน้าปรางค์ประธาน มีวิหารอิฐเล็กๆ 2หลัง สมัยก่อน ใช้ที่นี่ เป็นเหมือน ห้องสมุด เก็บคัมภีร์ ทางพุทธศานา หรือ ที่เรารู้จักกันดี ว่า “หอไตร” นั่นเอง.
ด้านบน เหนือกรอบประตู ของวิหารอิฐทั้งสอง ถ้าเราหันหน้า เข้าหาปรางค์ประธาน ตรงทางเข้า วิหารฝั่งซ้าย จะมี ทับหลังหินสลัก เป็นรูป พระอิศวรกับพระอุมาประทับนั่งเหนือโคนนทิ
วิหารฝั่งขวามือ จะ ทับหลังหินสลัก จะเป็นรูป พระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่เหนือพระยาอนันตนาคราช
ซึ่ง ภาพเหล่านี้ต้องขออภัยที่นกถ่ายมาไม่ครบ เพราะ อากาศร้อน ทะลุทะลวง 45 องศา จนกล้องหยุดทำงาน ไปพักใหญ่..
ซุ้มประตู หรือ โคปุระ ยังคงสภาพดี สวยงาม .. รวมทั้งระเบียงคด ที่ยังคงสภาพ ไว้ให้เห็นโดยรอบ..
ส่วนสระน้ำ จากการสอบถาม ชาวบ้าน บอกว่า สระน้ำ อยู่ห่างออกไป ไม่ได้อยู่ภายในระเบียงคด และไม่ได้ เหลือสภาพให้เห็นแล้ว.
ไฮไลท์ สำคัญ ของปราสาทหินนี้ คือ ทับหลัง หรือแผ่นหินสลันสลักเหนือกรอบประตู ที่มีถึง 13 แผ่น น่าเสียดายที่นกถ่ายมาไม่ครบ.. ถ้าได้กลับไป จะไปถ่ายมาอีกให้ได้…
ตอนที่นกไป ถึง เป็น 1 วัน หลังมีงานเฉลิมฉลอง ทำให้มีขยะ กับ เศษ พลุ ที่ใช้แล้ว กระป๋องเบียร์ ขวดน้ำอัดลม เรี่ยราดเต็มไป หมด .. จนนกต้อง เก็บมากองๆ รวมไว้ เพราะ จะถ่ายรูปไม่ได้ ก็แอบมีเคืองนิดหน่อย แต่ก็ คงต้องโทษตัวเอง ที่ไปผิดเวลา..
เนื่องจากที่นี่ ปรับเปลี่ยน เป็นวัดพุทธ ทำให้ ปัจจุบัน วัดกับปราสาท จะอยู่ชิดติดกันไป นิด เนื่องจากพื้นที่ ที่มีจำกัด ถ้ามองในแง่มุม ของ ชาวต่างชาติ อาจรู้สึกถึงความไม่ค่อยเข้ากัน ของ ของใหม่ ที่สร้าง จนปิดบังปกคลุม ของเก่า
แต่ถ้ามองในแง่ของชาวพุทธ และวิถีชาวบ้าน ก็เป็นไปตามครรลอง ของวัฒนธรรม .
ลวดลาย บนหน้าบัน เป็นภาพ พระศิวนาฏราช
ลวดลายบนหน้าบัน เป็นภาพพระศิวะ กับพระแม่อุมาเทวีทรงโคนนทิ
ลายสวยงาม สองข้าง หน้าบัน
ทับหลัง ที่ยังมีสภาพสวยงาม
ทับหลังรูปพระอินทร์ ทรงช้างเอราวัณ
ฐานศิวะลึงค์ อยู่ข้างในปรางค์บริวาร องค์ซ้ายมือ ถ้าเราหันหน้าเข้าหาปรางค์ประธาน
วิธีเดินทาง ไม่ยากเลยค่ะ ใน GPS จะมีคำว่า วัดสระกำแพงใหญ่ ศรีสะเกษ เซิร์ท ขึ้นง่ายดาย ไม่มีหลงทาง ..