social enterprise ความรู้ใหม่ เมื่อฉันไปเยือนสิงห์ปาร์ค เชียงราย
หลายคนคงเคยได้ยิน ประโยคที่ว่า “นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด”.
“นักการเมืองยื่นปลา” เป็นนโยบาย ประชานิยม เป็นการหยิบยื่นสิ่งที่จับต้องได้ให้ เป็นการตักตวงคะแนนนิยม ที่รวดเร็ว ดุจ การหยิบปลาจากแม่น้ำ ใส่มือประชาชน
โดยไม่สนใจว่า ยามพวกเขาไม่อยู่ ประชาชน จะจับปลาจากแม่น้ำขึ้นมาเอง ได้อย่างไร.
“พระราชายื่นเบ็ด” เป็นการทรงงานของ ในหลวง การยื่นเบ็ด ให้ประชาชน แล้วสอนว่า ต้องตกปลาอย่างไร การทรงงานแบบนี้ เป็นสิ่งที่เห็นผลช้า ไม่เป็นที่นิยมของประชาชน และมักเกิดคำถาม ว่า จะสำเร็จจริงหรือ
.. แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลายปี โครงการพระราชดำริสำเร็จ ประชาชน จึงได้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ในการริเริ่มจนกระทั่งเกิดความสำเร็จ ของโครงการ
“หากยื่นปลาให้ ประชาชน จะมีปลากินในวันนี้ แต่หากยื่นเบ็ดให้ ประชาชนจะมีปลากิน ตลอดไป” ..
โครงการหลวง เป็นตัวอย่าง ที่สำคัญตัวอย่างหนึ่ง ของคำว่า social enterprise .



social enterprise หมาย ถึงธุรกิจที่เป็นได้ทั้งประเภทที่หากำไรและไม่หากำไร ยึดถือการตอบแทนประโยชน์สู่สังคมเป็นแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจ
เป็นธุรกิจ ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เอื้อเฟื้อแบ่งปัน มองในคุณค่าในตัวมนุษย์ มากกว่า รายได้
social enterprise . ไม่ได้เป็นแนวคิด ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ในประเทศไทย หากแต่นำเอาความคิดเศรษฐกิจ ตามโครงการพระราชดำริ มาประยุกต์ ให้เข้ากับการบริหารธุรกิจเอกชน ทั้งในส่วน หากำไร และไม่หากำไร
social enterprise แรกเริ่มเดิมที เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้น ในประเทศอังกฤษ โดยแนวคิดที่ว่า ประเทศ ประเทศหนึ่ง มีเพียง 1 รัฐบาล แต่มีหลายองค์กรเอกชน หากการพัฒนาและช่วยแก้ปัญหาสังคมเกิดได้ โดยองค์กรเอกชน ที่มีจำนวนมากกว่า ความสำเร็จ สัมฤทธิ์ผล ต่อประชาชน ย่อมมีได้มากกว่า ..

สุดสัปดาห์ ได้มีโอกาส ไปเยือน ไร่บุญรอด หรือ สิงห์ปาร์ค เชียงราย .. ทำให้มีโอกาส ได้ ค้นพบ social enterpriseอีกแห่ง ของประเทศไทย
กับมุมมอง ที่หลายคนอาจมองข้ามไป
สิงห์ปาร์ค ประกอบ ด้วยพื้นที่ กว่า 8000 ไร่ มีการใช้พื้นที่ ปลูก พืชผักผลไม้นานาชนิด, มีกิจกรรม Adventure, กิจกรรมปั่นจักรยาน, มีทุ่งดอกไม้ ตามฤดูกาล
,มีร้านอาหาร อร่อย ภูภิรมย์ , มีสวนสัตว์ เล็กๆ ให้เพลิดเพลินไปกับการให้อาหาร ยีราฟ กับม้าลาย.
รวมถึง ยังมีจุดท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ที่เปิดให้คนทั่วไป เข้าไป ชม มีทั้งการเก็บ พุทรา เก็บสตรอเบอรี่ ได้กินกันสดๆจากต้น.



ทั้งหมดนี้ ได้รับการช่วยเหลือ จาก การจ้างงานคนงาน กว่า 1200 คน
สิงห์ปาร์ค เป็น social enterprise ..จากการจ้างงานคนงาน ในท้องถิ่น สนับสนุนเงินทุน ในการทดลองแปลงเกษตร เป็นเกษตรแบบปลอดสารเคมีโดยสิ้นเชิง
รายได้จากนักท่องเที่ยว และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จะเปลี่ยนเป็นเม็ดเงินหมุนเวียน นำกลับมาจ้างงานคน โดยไม่ได้ นำกลับไปเป็นกำไรของผู้ถือหุ้น ทำให้คนในท้องถิ่น ได้มีงานทำ มีรายได้ ที่มั่นคง



จากการได้มีโอกาส เข้าเยี่ยมชม สิงห์ปาร์ค ในบริเวณ ที่ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวทั่วไป เยี่ยมชมได้



ฉันค้นพบว่า ผลไม้สดๆ ของที่นี่ สามารถเด็ดกินได้ จากต้น เนื่องจากปลอดสารเคมี



ผลไม้ ที่นี่ มีกระบวนการการผลิต ที่ใส่ใจ ทั้งคุณภาพ และใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม



ฟาร์มเพาะเห็ด ที่ใช้ผู้ชำนาญงาน และมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแล


ไร่ชา ที่สวยงาม เวิ้งว้าง เรียงราย สุดลูกหูลูกตา



อาหารอร่อย ปรุงด้วยผักผลไม้ปลอดสาร ที่ผลิตจากไร่บุญรอด..



ปิดท้ายด้วย กิจกรรม เหิรเวหา ซิปไลน์ ท้าทายความกล้า ของคนชอบความตื่นเต้น
ใครที่อยากเข้ามา เที่ยวที่ไร่บุญรอด สามารถ นำจักรยานมาปั่นเองได้ โดยไม่มีค่าเข้าชม… หรือ สามารถเช่าจักรยานได้ ในราคา ชั่วโมงละ 100 บาท













#Social Enterprise ที่ไร่สิงห์ปาร์ค จังหวัดเชียงราย
#Social Enterprise ที่ไร่บุญรอด จังหวัดเชียงราย
#กิจการเพื่อสังคม ที่ไร่สิงห์ปาร์ค จังหวัดเชียงราย
#กิจการเพื่อสังคมที่ไร่บุญรอด จังหวัดเชียงราย
#Social Enterprise ในไทย
#Social Enterprise ในประเทศไทย
ไร่บุญรอด (สิงห์ ปาร์ค) 99 หมู่ที่ 1 บ้านแม่กรณ์ ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
เวบไซต์ : www.boonrawdfarm.com
facebook : www.facebook.com/boonrawdfarm
เวลาเปิดให้เข้าชมฟาร์ม : ตลอดทั้งปี ตั้งแต่เวลา 9.00 – 17.00 น ในวันหยุด – เทศกาล รถออกทุก 20 นาที วันธรรมดาทุก 60 นาที